ความเป็นมาของเรื่อง




ความเป็นมาของเรื่อง














ชื่อไทย มะม่วง
ชื่อสามัญ Mango
ชื่อวิทยาศาสตร์ Mangifera indica Linn.
ชื่อวงศ์ ANACARDIACEAE
ลักษณะโดยทั่วไป 
มะม่วงเป็นไม้ผลขนาดใหญ่ ปลูกได้ทุกภาคของประเทศไทย ปลูกได้ในดินทั่วไป ยกเว้นดินเค็มและดินที่มีน้ำขัง
สรรพคุณทางยา
ผลสดแก่ รับประทานแก้คลื่นไส้อาเจียน วิงเวียน กระหายน้ำ
ผลสุก หลังรับประทานแล้วล้างเมล็ดตากแห้ง ต้มเอาน้ำดื่ม หรือบดเป็นผง รับประทานแก้ท้องอืดแน่น ขับพยาธิ
ใบสด 15–30 กรัม ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ลำไส้อักเสบเรื้อรัง ท้องอืดแน่น เอาน้ำต้มล้างบาดแผลภายนอกได้
เปลือกต้น ต้มเอาน้ำดื่ม แก้ไข้ตัวร้อน
เปลือกผลดิบ คั่วรับประทานร่วมกับน้ำตาล แก้อาการปวดเมื่อยเมื่อมีประจำเดือน แก้ปวดประจำเดือน
คติความเชื่อเกี่ยวกับมะม่วง
มะม่วงเป็นต้นไม้มงคลชนิดหนึ่งที่มีมาแต่ครั้งพุทธกาล คนโบราณเชื่อว่าหากนำมาปลูกไว้ในบริเวณบ้านทางทิศใต้ (ทักษิณ) จะทำให้เจ้าของบ้านและผู้อยู่อาศัยมีความร่ำรวยยิ่งขึ้น

ความเชื่อทางพุทธประวัติ
มะม่วงหรือที่ชาวฮินดูเรียกว่า อะมะหรือ อะมะรินี้ ตามพระพุทธประวัติ กล่าวว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จไป ประทับอยู่ในสวนอัมพวารามของหมดชีวกโกมาลพัตร ซึ่งเป็นป่ามะม่วง มีต้นมะม่วงขึ้นมากมาย และอีก ตอนหนึ่งในขณะที่พระพุทธเจ้าได้ไปพำนักอยู่กับกัสสปฎิลดาบส พระฤษีตนนั้นก็กราบทูลนิมันต์ภัตกิจ พระองค์ก็ตรัสให้พระฤษีไปก่อน ส่วนพระองค์ได้เสด็จเหาะไปเก็บผลมะม่วง หว้า ฯลฯ แล้วเสด็จไปสู่ดาดึงษ์เทวโลก นำเอาปาริฉัตรพฤกษชาติกลับมา พระองค์ยังเสด็จมาถึงก่อนฤษีตนนั้นเสียอีก


ฤดูกาลนำเข้ามะม่วงน้ำดอกไม้ในประเทศญี่ปุ่น

- - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - - -
ฤดูกาลนำเข้ามะม่วงน้ำดอกไม้สีทองในประเทศญี่ปุ่น


อ้างอิง http://www.pk-siam.com/website/.mart/fruits/mango/.mango_exp.html

สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
มะม่วงน้ำดอกไม้ โดย มะม่วง อนุญาตให้ใช้ได้ตาม สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ Attribution-NoDerivatives 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น